Home » ปัญหาสังคมแก้ได้อย่างไร

ปัญหาสังคมแก้ได้อย่างไร

( Somboon )

by Pakawa

พระธรรม ไม่สาธารณะ คือไม่ทั่วไปกับทุกคน ผู้สะสมเหตุที่ดีมาแล้ว เคยได้ยินได้ฟังพระธรรมมาแล้วเท่านั้น ที่จะเห็นประโยชน์ และพร้อมที่จะรับฟัง ซึ่งจะเป็นผู้ได้ประโยชน์จากพระธรรมอย่างแท้จริง

ปัญหาสังคมแก้ได้อย่างไร

    สิ่งหนึ่งซึ่งทุกคนจะลืมไม่ได้ คือ ทุกอย่างไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ความเห็นผิดไม่มีใครอยากมี แต่ก็มีความเห็นผิดมากมายในโลก ใครจะแก้ความเห็นผิดมากมายนั้นให้หมดได้
ก็ต้องมั่นคงในความเป็นอนัตตาโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ทรงพยากรณ์ถึงความเสื่อม จนกระทั่งถึงกาลที่พระพุทธศาสนาจะอันตรธาน ไม่เหลือ แต่ยังไม่ถึงยุคนั้น ใกล้จะถึง
ใกล้จะถึง ใกล้อย่างไร คำสอน หรือความเข้าใจคำสอน ก็จะเปลี่ยนแปลงไป แต่ใครจะไปฝืนกระแสของโลกหรือสิ่งที่จะเกิดขึ้น เป็นไปไม่ได้ แต่ตราบใดที่คำสอนยังมีอยู่ และผู้นั้นไม่ประมาทคำสอน คำสอนที่ลึกซึ้งจะเปลี่ยนให้ง่ายๆ ไม่ได้ จึงเป็นสิ่งที่จะต้องอบรมด้วยความอดทนจริงๆ ถ้าเข้าใจถูกอย่างนี้ เราก็ไม่ไปคิดทำให้เกิดปัญญามากๆ เร็วๆ ทั้งๆ ที่กว่าปัญญาจะเกิดได้ต้องอบรมต้องใช้เวลา อย่างถ้าเราจะทำนา แล้วมานั่งคำนวณว่า กว่าข้าวจะสุกต้องใช้น้ำเท่าไร ใช้ปุ๋ยเท่าไร แล้วใส่น้ำใส่ปุ๋ยไป ผลก็คือข้าวตาย เพราะเราไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ ปัญญาก็เช่นเดียวกัน
เป็นเรื่องของแต่ละคนที่เป็นผู้ตรงขึ้น ตรงต่อพระธรรมวินัยด้วย สิ่งใดที่เป็นคำสอนที่ถูกต้อง เราเป็นผู้ตรงต่อคำสอน ไม่คำนึงถึงองค์กร ของบุคคล หรือของใครๆ ถ้าเราสามารถจะช่วยได้ เราก็พร้อมจะช่วย แต่การจะแก้ไขให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามที่ถูกต้องทั้งหมด ความผิดใดๆ ในโลกก็ต้องไม่มี ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
แก้สังคมไม่ได้ ก็เพราะเหตุว่าเกี่ยงกันให้คนอื่นแก้ อย่างเป็นต้นว่า หลายคนบอกว่า พระพุทธศาสนาประเสริฐ ดีที่สุด แก้ปัญหาทุกปัญหาได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ หรือปัญหาศีลธรรมก็ตาม ควรเรียนควรศึกษา ผู้พูดอย่างนี้ เรียนหรือเปล่าศึกษาหรือเปล่า สรรเสริญทุกประการ แล้วก็บอกว่า ต้องแก้ด้วยพระพุทธศาสนา ต้องอบรมเจริญปัญญา ต้องปฏิบัติ แต่ผู้กล่าวไม่เรียนไม่ศึกษา ตราบใดที่ผู้นั้นไม่เรียนไม่ศึกษาด้วยตนเอง คนอื่นก็เช่นเดียวกัน พูดสรรเสริญ แต่ไม่เรียนไม่ศึกษาเลย
เพราะฉะนั้น สังคมก็คือแต่ละหน่วยของชีวิต เราก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ละคนก็เป็นส่วนหนึ่ง ถ้าแต่ละส่วนศึกษาธรรมะ ไม่ต้องไปเกี่ยงให้คนอื่นศึกษา แต่ตัวเราไม่ศึกษา แต่ถ้าจะช่วยสังคม หรือช่วยให้เข้าใจธรรมะ ก็คือเราศึกษา และต่อจากนั้นก็เผยแพร่พระธรรมคำสอนที่ได้ศึกษาแล้ว แต่ถ้าให้คนอื่นศึกษา แต่ตัวเองไม่ศึกษา ก็ไม่มีทางแก้ไขอะไรสำเร็จได้.

You may also like

Leave a Comment

ช่องทางติดตามข่าวสาร

Copyright @2024  All Right Reserved – Buddhawisdomfoundation Buddhawisdom

-
00:00
00:00
Update Required Flash plugin
-
00:00
00:00