แม้จะทุกข์หรือเจ็บปวด ก็ไม่อาจใช้เป็นเหตุผลให้ไม่ทำความดี
หรือไปทำสิ่งที่ไม่ดีได้
ขณะที่เป็นทุกข์ สิ่งที่ควรทำ คือ มีสติ รักษาความคิด วาจา ใจ
หลีกห่าง”อกุศล” ไม่เติม..เหตุและไม่เติมกรรมแห่งทุกข์เพิ่มขึ้น
รักษากาย วาจา ใจ ให้อยู่ในกุศล
เพิ่มเหตุแห่งกุศลกรรม เพิ่มพลังแห่งคุณความดี
ธรรมะย่อมรักษา ผู้ประพฤติธรรม
.
𝐶𝑟𝑒𝑑𝑖𝑡 : 𝐵𝑜𝑑𝘩𝑖𝑠𝑎𝑡 𝐻𝑒𝑎𝑟𝑡

**เค็มและจืดก็มีรสชาติ**
พระอาจารย์หงอี้ (Master Hongyi) เป็นศิลปินที่ปฏิบัติธรรม วันหนึ่ง ครูเซี่ยเมียนจุน (Xia Mianzun) ได้มาเยี่ยมและรับประทานอาหารด้วยกัน ท่านหงอี้เพียงได้ชิมผักดอง
“แต่มันเค็มเกินไปไหม?” เซี่ยถาม
“เค็มก็เป็นรสชาติหนึ่ง” หงอี้ตอบ
ต่อมา ท่านหงอี้ได้เสิร์ฟน้ำเปล่าให้กับครูเซี่ย
เซี่ยถามว่า “ทำไมไม่มีใบชาเลย? ดื่มแต่น้ำเปล่าได้ยังไง?”
ท่านหงอี้ยิ้มแล้วตอบว่า “จืดก็เป็นรสชาติหนึ่งเหมือนกัน”
“เค็มก็เป็นรสชาติหนึ่ง” และ “จืดก็เป็นรสชาติหนึ่ง” สะท้อนถึงธรรมะในแบบเซน
ด้วยการดำเนินชีวิตตามธรรมะของท่านหงอี้ ชีวิตของท่านจึงไม่เคยขาดรสชาติ
แม้แต่ผ้าขี้ริ้วเก่าๆ ก็ยังมีประโยชน์ แม้แต่ห้องนอนที่ร้อน – ท่านก็ยังนอนหลับได้
อาจารย์หงอี้ใช้ชีวิตกับความรู้สึกที่ว่า “เป็นอยู่ได้…ทุกสภาวะด้วยความสงบสุข”
……………………………………………………………………
หลักธรรม :
– ทุกสิ่งในชีวิต ไม่ว่าจะดีหรือร้าย เค็มหรือจืด ล้วนมี “รสชาติ” ในตัวของมันเอง
– ไม่จำเป็นต้องแสวงหาความสมบูรณ์แบบหรือความสะดวกสบายเสมอไป แม้ว่าสิ่งรอบตัวจะดูธรรมดา หรือขาดสิ่งที่คนทั่วไปคิดว่า “ขาดไม่ได้” เช่น ชาหรืออาหารรสอร่อย แต่ถ้าจิตใจเราสงบและเข้าใจธรรม ชีวิตก็ยังมีความหมายและน่าอยู่
– นี่คือการฝึกฝนการยอมรับ ปล่อยวาง และการรู้จัก “อยู่กับสิ่งที่มีอยู่” อย่างสงบ
…วีระ วศินวรรธนะ เรียบเรียง

花开了 , 不一定是春天
ดอกไม้บานเป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ดี สดใส หรือการเริ่มต้นใหม่
ความจริง ดอกไม้อาจจะบานในฤดูกาลอื่นก็ได้
“想开了 才是” (เปิดใจได้ นั่นแหละคือคำตอบ)**
การที่เราคิดบวก ปล่อยวาง หรือเข้าใจชีวิต นั่นแหละคือ “ฤดูใบไม้ผลิ” ที่แท้จริงในใจของเรา
…วีระ วศินวรรธนะ แปลและเรียบเรียง