Home » “อวิชชา” เป็นปัจจัยแก่ “สังขาร”

“อวิชชา” เป็นปัจจัยแก่ “สังขาร”

( Pakawa )

by Pakawa

ในเจตสิก ๕๐ ซึ่งเป็นสังขารขันธ์ ก็ยังหมายเฉพาะเจตนาเจตสิกดวงเดียวเท่านั้นที่เป็น “อภิสังขาร” ในปฏิจจสมุปปาท ซึ่งท่านผู้ฟังก็คงจะได้ทราบว่า “อวิชชา” เป็นปัจจัยแก่ “สังขาร”

“สังขาร” นั้น หมายความถึง “อภิสังขาร” คือ สภาพของเจตสิกซึ่งเป็นเจตนา เป็นสภาพที่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง คือ ทำให้เป็นกุศลหรืออกุศล ซึ่งจะทำให้เกิดผลข้างหน้า ในเมื่อเจตสิกอื่นก็ปรุงแต่งให้จิตเกิดขึ้น เช่น ผัสสเจตสิก ถ้าไม่มีผัสสเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพที่กระทบอารมณ์ การเห็นมีไม่ได้ การได้ยินมีไม่ได้ การได้กลิ่นมีไม่ได้ การลิ้มรสมีไม่ได้ การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส การคิดนึกต่างๆ ก็มีไม่ได้ แต่ว่าผัสสเจตสิกไม่ใช่อภิสังขาร

ท่านที่เคยอยากทราบเรื่อง ปฏิจจสมุปปาท คือ ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น นี่คือเรื่องของกิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏ และวิปากวัฏฏ์ เริ่มตั้งแต่ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ เป็นกิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏ วิปากวัฏฏ์

อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร “สังขาร” ที่นี่คือ ปุญญาภิสังขาร ได้แก่ กุศลกรรม อปุญญาภิสังขาร ได้แก่ อกุศลกรรม อเนญชาภิสังขาร ได้แก่ อรูปกุศลกรรม เพราะกรรมใดที่เนื่องกับรูปทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกามาวจรกุศล เป็นกุศลที่เนื่องกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือเป็นรูปฌาน กรรมใดก็ตามซึ่งยังเนื่องกับรูป เป็นปุญญาภิสังขาร กุศลกรรมใดที่เนื่องกับรูปเป็นปุญญาภิสังขาร

เพราะฉะนั้นสังขารจึงมี ๓ โดยนัยของปฏิจจสมุปปาท คือ ปุญญาภิสังขาร ได้แก่ กุศลกรรมทั้งหลายที่เนื่องกับรูป อปุญญาภิสังขาร ได้แก่ อกุศลกรรมทั้งหมด อเนญชาภิสังขาร ได้แก่ อรูปฌานกรรม ๔ เท่านั้น เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ได้แก่ ปฏิสนธิจิตในภูมิต่าง ๆ ตามเหตุของกรรมนั้น เป็นปฏิจจสมุปปาทหรือเปล่า

เพราะฉะนั้นปฏิจจสมุปปาทไม่ได้อยู่ที่อื่น แล้วก็ไม่ได้อยู่ในหนังสือ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง คือ ในทุก ๆ ขณะนี้ ไม่ว่าจะทรงแสดงโดยนัยใด จะทรงแสดงโดยนัยของปรมัตถธรรม ๔ ทรงแสดงโดยนัยของอริยสัจธรรม ๔ หรือทรงแสดงโดยนัยของปฏิจจสมุปปาท ก็เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้เอง

เพราะฉะนั้นในสังขารขันธ์ ๕๐ เฉพาะ เจตนาเจตสิก ดวงเดียวเท่านั้นที่เป็น “อภิสังขาร” คือ เป็นสภาพที่ปรุงแต่งอย่างยิ่งให้เป็นกุศลธรรมหรืออกุศลธรรม

เพราะเหตุว่าสำหรับ อวิชชา ซึ่งเป็นปัจจัยแก่ สังขาร ในปฏิจจสมุปปาท สังขาร นั้นได้แก่ ปุญญาภิสังขาร ๑ อปุญญาภิสังขาร ๑ อเนญชาภิสังขาร ๑ ซึ่งหมายถึงเจตนา

สำหรับปุญญาภิสังขาร ได้แก่ เจตนาซึ่งเกิดกับกุศลจิต สำหรับอปุญญาภิสังขาร ก็ได้แก่ เจตนาซึ่งเกิดกับอกุศลจิต และสำหรับอเนญชาภิสังขาร ก็ได้แก่ เจตนาที่เกิดกับอรูปฌานกุศลจิต ซึ่งเป็นกุศลที่ไม่หวั่นไหว

ปฏิจจสมุปบาท อธิบายความเป็นไปของโลกว่า ทำไมถึงวนเวียนอยู่อย่างนี้ ไม่ไปไหนสักที ก็เพราะว่ามีกิเลส จึงทำให้เกิดการทำกรรม พอทำกรรมเสร็จก็รับวิบาก ที่เราอาจจะเคยได้ยินว่า กิเลส กรรม วิบาก เป็นวงของปฏิจจสมุปบาท ก็คือว่าต้องเกิดเรื่อยๆ สืบต่อไปในสังสารวัฏฏ์ ไม่สิ้นสุดสักที มีกิเลสอยู่ จึงทำกรรม เมื่อทำกรรมเสร็จแล้ว ก็ต้องได้รับวิบาก ก็วนเวียนอย่างนี้ พอได้รับวิบาก ก็ด้วยความที่ตัวเองมีกิเลสอยู่ ก็ทำกรรมอีก ทำกรรมก็รับวิบากใหม่ ก็วนเวียนอยู่อย่างนี้ อันนี้เป็น ปฏิจจสมุปบาท

ปฏิจจสมุปบาท สิ้นสุดที่ทุกข์ หนทางพ้นทุกข์ คือ ไม่อยู่ในวงจรของปฏิจจสมุปบาท คือ. ดับ อวิชชา เป็น วิชชา หรือคือ ปัญญา มีความเห็นถูก สัมมาทิฏฐิ เห็นว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เมื่อความจริงไม่มีตัวเรา แล้วจะไปดับที่ตัวเรา ดับอะไรไม่รู้ ก็ความเป็นจริงไม่มีตัวเรา แล้วเอาความเท็จมาทำโน่นทำนี่ จะถูกหรือ ต้องดับที่เหตุ คือ อวิชชา ดับกิเลส จะคิดจะทำอะไร ถ้าเป็นพุทธศาสนา ต้องเริ่มจาก ความจริง ที่ว่า ไม่มีตัวเรา เป็นอนัตตา เหมือนกลัดกระดุมเสื้อเม็ดแรก ให้ถูก กระดุมเม็ดต่อๆไป ก็ถูกด้วย

วิญญาณ คือ จิต เป็น นามธรรม ทำให้เรามีชีวิต คนที่ไม่มีจิต คือคนตาย มีแต่ร่าง เมื่อวิญญาณเกิด ทำให้มีชีวิตเป็นคน เหตุที่วิญญาณเกิด มีกรรม เป็นกำเนิด สังขาร ให้เกิดวิญญาณ จึงเป็นอภิสังขาร 3 ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ก็คือกรรม ที่ส่งมาให้เกิดเป็นคนเป็นเรา สังขารปรุงแต่ง ไม่ใช่ความคิดปรุงแต่ง แต่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อมีวิญญาณ หรือ จิต ก็รู้ว่า มีรูปนาม มีสฬายตนะ คือ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ รับวิบากกรรมต่างๆ จากผัสสะ เกิดเวทนา เกิดตัณหา  เกิด อุปาทาน …..

You may also like

Leave a Comment

ช่องทางติดตามข่าวสาร

Copyright @2024  All Right Reserved – Buddhawisdomfoundation Buddhawisdom

-
00:00
00:00
Update Required Flash plugin
-
00:00
00:00