Home » ความสงบสุขทางจิต…

ความสงบสุขทางจิต…

( วีระ วศินวรรธนะ )

by Pakawa

ความสงบสุขทางฝ่ายจิตหรือฝ่ายวิญญาณนั้น
คือ จิตไม่หวั่นไหว ไม่โยกโคลง ไม่เสียอิสรภาพ ไม่ระส่ำระสาย
เป็นจิตที่อยู่ในสภาพปกติ

เรียกได้ว่า… เป็นตัวเอง หรือเป็นอิสระ
ไม่มีอะไรกวน ไม่มีอะไรมาบีบบังคับ.
นี้เป็นความสงบสุขทางฝ่ายจิตหรือฝ่ายวิญญาณ.

ส่วนทุกข์-สุขเวทนา ทางฝ่ายเนื้อหนังนั้น
เป็นสิ่งที่กล่าวได้ว่า หมดอิสรภาพ
เพราะว่ากำลังยึดมั่นถือมั่นอยู่อย่างแรงในความรู้สึกนั้น

ส่วนความสงบสุขทางฝ่ายจิตฝ่ายวิญญาณนั้น
ต้องไม่เกี่ยวกับความยึดมั่นถือมั่น ไม่มีความรู้สึกว่า…
นี่เป็นตัวกูหรือเป็นของกู เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเลย
จึงเป็นจิตที่เป็นปกติที่สุด ซึ่งเขาเรียกกันว่า….“จิตว่าง”
หรือจะเรียกว่า “จิตเดิมแท้” หรือจะเรียกอย่างไรก็ได้
แต่ใจความสำคัญก็คือว่า จิตที่ไม่ถูกกระทำ จิตที่เป็นอิสระตามสภาวะเดิม

…พุทธทาสภิกขุ

เวทนาขันธ์ในขันธ์ 5 กับ เวทนาในปฏิจจสมุปบาท ต่างกันหรือไม่ ?

ตอบ…
เวทนาในขันธ์ 5 เป็นลักษณะของการรับรู้ความรู้สึกทั่วไปที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ
เวทนาในปฏิจจสมุปบาทมีจุดกำเนิดจากอวิชชา ซึ่งนำไปสู่การมีตัวตน(นาม) ตัณหา การยึดมั่น และสังสารวัฏ
ถือเป็นเงื่อนไขของทุกข์ที่ต้องพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงเพื่อการพ้นทุกข์

ขันธ์ 5 หรือ กองทั้ง 5 แต่ละกองแยกกัน โดยมีวิญญานเป็นผู้ประสาน ตัวเขื่อม รับ-ส่ง (messenger)
เป็นขบวนการดำเนินของสิ่งมีชีวิต

1- รูป คือ สิ่งที่ตกกระทบภายนอก ลักษณะทางPhysics เช่น แสง เสียง กลื่น คลื่น เป็นต้น
รูปมีอยู่ในธรรมชาติ ธรรมชาติเป็นผู้สร้าง ไม่มีชื่อ
นาม ตามมาโดยการตั้งชื่อ(คนเป็นผู้ตั้ง)เพื่อเรียกขาน
2- เวทนาขันธ์ คือ อุปกรณ์ หรือ อวัยวะ ในการรับ-รู้สึก …ร้อน เย็น เผ็ด เจ็บ เป็นต้น (ยังไม่ไปถึงชอบ/ไม่ชอบ)
3 -สัญญาขันธ์ (จำได้/หมายรู้ ) คือ ข้อมูล file ที่บันทึกเก็บใว้ในMemories ตั้งแต่เกิด แต่ละคนก็มีสัญญาขันธ์ที่ไม่เหมือนกัน

อธิบายการทำงาน…
เมื่อเวทนาขันธ์รับรู้ความรู้สึก feeling มา ก็ต้องไป matching กับ”สัญญา”ที่มีอยู่ในfileว่า เย็นแบบนี้ เป็นไง เราทนได้ไหม อยู่ได้ไหม จะอันตรายไหม …. สังเกตุนะ เราชอบ/ไม่ชอบ อยากได้/ไม่อยากได้ ยังไม่เกิด (หมายความว่า รู้/รู้สึก แค่นั้นนะ)
บางท่านจะหยุดProcessใว้ตรงนี้ด้วยอุเบกขาธรรม… ไม่ปรุงต่อ ไม่ก้าวล้ำไปสู่ความอยาก(ตัณหา) อุปาทาน(ยึดหรือเหนี่ยวรั้งเอาใว้)
ขบวนการก็จะหยุด. การปรุงแต่งว่าชอบ/ไม่ชอบ ก็จะหยุด. สังขารขันธ์ก็ไม่เกิด กรรมก็ไม่เกิด

4 – สังขารขันธ์ คือ สิ่งที่เราสร้างขึ้นจากการปรุงแต่งของเรา จนเกิดเป็นภาพ Image เช่น ยักษ์ มาร ปีศาจ
เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างกรรม (ดี / ชั่ว) เกิดขึ้นและดับไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง(เพราะมันเป็นอนัตตา)
5 – วิญญานขันธ์ เกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของขบวนการ เป็นทั้งตัวรับและตัวส่ง
เช่น รับรู้ทางตา ก็เรียกจักขุวิญญาน เป็นต้น

…..วีระ วศินวรรธนะ 19 มีนาคม 2568

You may also like

Leave a Comment

ช่องทางติดตามข่าวสาร

Copyright @2024  All Right Reserved – Buddhawisdomfoundation Buddhawisdom

-
00:00
00:00
Update Required Flash plugin
-
00:00
00:00