Home » รักษาพระวินัยรักษาพระศาสนา

รักษาพระวินัยรักษาพระศาสนา

( Somboon )

by Pakawa

ผู้ที่ช่วยกันรักษาพระธรรมวินัย รักษาพระพุทธศาสนา คือผู้ที่เห็นคุณ กล่าวตามธรรมวินัย ตามความจริงให้พุทธบริษัท ปฏิบัติถูกว่า พระไม่ควรรับและยินดีในเงินและทอง

รักษาพระวินัยรักษาพระศาสนา

ความเสื่อมไปของพระพุทธศาสนา ไม่ได้เกิดจากศาสนาอื่น แต่เกิดจากพุทธบริษัท ที่ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย มีพระรับเงินทอง และส่งเสริมสิ่งที่ผิด ปกป้องสิ่งที่ผิด ปกป้องพระรับเงินทอง ผู้ที่ช่วยกันรักษาพระธรรมวินัย รักษาพระพุทธศาสนา คือผู้ที่เห็นคุณ กล่าวตามธรรมวินัย ตามความจริงให้พุทธบริษัท ปฏิบัติถูกว่า พระไม่ควรรับและยินดีในเงินและทอง
พระภิกษุ บวชเพื่อสละ ละทุกสิ่ง มุ่งตรงต่อการดับทุกข์ พระพุทธเจ้า พระสาวกผู้มีคุณธรรม ออกบวช เพื่อสละกองเงินกองทอง สละความประพฤติดั่งคฤหัสถ์ ท่านทำกิจของพระภิกษุ คือ ศึกษาพระธรรม เผยแพร่พระธรรม อบรมปัญญาโดยไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับเงินทองประการใดๆ โดยเป็นหน้าที่ของคฤหัสถ์เป็นผู้จัดการ ในการสร้างวัด ซ่อมแซมวัด และ วัดที่ดี ก็ให้คฤหัสถ์ที่ดี บริหาร ดูแล ค่าใช้จ่ายของวัด โดยพระภิกษุที่ดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเงินทองก็มีมาแล้ว
ปัจจุบัน วงการสงฆ์วุ่นวายอย่างมาก เพราะ คฤหัสถ์ และบรรพชิต ไม่ศึกษาพระธรรม ไม่ศึกษาพระวินัย มุ่งแต่โลภบุญ อยากได้บุญ ถูกพระภิกษุอลัชชี (ไม่ละอาย) กล่าวอธรรม (คำไม่ถูก) ว่าให้ถวายเงินทองได้ ได้บุญ คฤหัสถ์อยากได้บุญ ถวายเงินพระ พระต้องอาบัติ แต่เพราะไม่ละอาย สะสมทรัพย์ อ้างยุคสมัย แต่ไม่อ้างพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้วว่า ภิกษุไม่พึงรับและยินดีในเงินและทอง รูปใดรับและยินดี ต้องอาบัติ
พระภิกษุไม่รู้ว่าตนเองว่าบวชเข้ามาทำไม บวชคืออะไร ก็ประพฤติตนดั่งคฤหัสถ์ เมื่อรับเงินทองแล้ว ก็ไปเปิดบัญชีธนาคาร พระภิกษุผู้สละ ไปธนาคาร สมควรหรือไม่ เปิดบัญชีธนาคาร รับเงินฝากนั้น ภิกษุรับเงินทอง ต้องอาบัติแล้ว รับเงินทอง มีบัญชีธนาคาร ไม่แตกต่างจากคฤหัสถ์ บวชทำไม ภิกษุผู้บวชเพื่อสละ ขัดเกลากิเลส ท่านย่อมสละชีวิต ไม่ยอมแม้รับเงินทอง เห็นอาบัติเล็กน้อยเป็นโทษใหญ่ดุจเมฆในนภากาศก้อนใหญ่ฉะนั้น
พระอ้างนำเงินมาทำกิจการงานต่างๆ ภายในวัด บวชเพื่อไม่ใช่มาทำกิจการงานแบบคฤหัสถ์ การก่อสร้างอะไรต่างๆ ไม่ต่างจากคฤหัสถ์ เป็นหน้าที่ของคฤหัสถ์ ไม่ใช่หน้าที่พระภิกษุ ภิกษุมีหน้าที่สองอย่าง คือ คันถธุระ ศึกษาพระธรรมตามพระไตรปิฎก และ วิปัสสนาธุระ อบรมปัญญา จนถึงการดับกิเลส ภิกษุเป็นผู้มีกิจน้อยไม่ใช่กิจแบบคฤหัสถ์ ถ้าจะทำกิจแบบคฤหัสถ์ก็สึกไม่มีโทษ ไม่ใช่ สะสมเงินอันเป็นโทษ พระพุทธเจ้าทรงติเตียน
เมื่อมีทรัพย์ มีสมุดบัญชี กิเลสที่ยังไม่ได้ดับ ก็ยินดีในเงินและทอง ถ้าจะกล่าวว่าไม่ยินดี เพียงรับเฉยๆ ผู้นั้นก็ต้องเป็นพระอริยบุคคล หมดกิเลสแล้ว แต่ พระอริยบุคคลผู้เป็นพระภิกษุ ไม่รับเงินและทอง แม้ด้วยเหตุแห่งชีวิต เมื่อมีทรัพย์ ก็โลภ ยินดี และ ก็ทำทุจริตต่างๆ มีเงินในบัญีธนาคารมากมาย.

You may also like

Leave a Comment

ช่องทางติดตามข่าวสาร

Copyright @2024  All Right Reserved – Buddhawisdomfoundation Buddhawisdom

-
00:00
00:00
Update Required Flash plugin
-
00:00
00:00