คิดดี พูดดี ทำดี สัมมาอาชีวะ(อาชีพสุจริต)…. ส่วนหนึ่งของมรรค 8
ข้อสำคัญคือ ศิลข้อ 4 … ไม่โกหกตนเอง ศีลข้อ 4 คือ **“ไม่พูดเท็จ”**
ซึ่งหมายถึงการไม่โกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด และไม่พูดเพ้อเจ้อ
เป็นการนำหลักศีลข้อนี้มาประยุกต์ใช้กับตัวเองโดยตรง
**“ไม่โกหกตนเอง”
หมายถึง **การซื่อสัตย์ต่อความจริงของตนเอง** ไม่หลอกตัวเอง ไม่บิดเบือนความจริงเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีหรือหนีปัญหา
#### **ตัวอย่างของการโกหกตนเอง**
– **ปฏิเสธความจริง** เช่น เราอาจทำผิดพลาดแต่ไม่ยอมรับ และหาเหตุผลมาสร้างเรื่องว่ามันไม่ใช่ความผิดของเรา
– **สร้างภาพให้ตัวเองดูดีเกินจริง** เช่น แสร้งว่าทุกอย่างดีทั้งที่ลึกๆ แล้วมีปัญหา แต่ไม่ยอมรับ
– **ฝืนทำสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเอง** เช่น เลือกอาชีพหรือทางเดินชีวิตเพียงเพราะสังคมหรือคนอื่นบอกว่าดี ทั้งที่ตัวเองไม่มีความสุข
### **ความสัมพันธ์กับมรรค 8**
ใน **มรรค 8** มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความคิด คำพูด และการกระทำที่ถูกต้อง ได้แก่
– **สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)** → ต้องเห็นความจริงตามที่เป็นจริง
– **สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)** → คิดอย่างถูกต้อง ไม่หลอกตัวเอง
– **สัมมาวาจา (วาจาชอบ)** → ไม่พูดเท็จ ไม่โกหกทั้งผู้อื่นและตนเอง
– **สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)** → ประกอบอาชีพอย่างถูกต้อง ไม่ฝืนใจตัวเองทำสิ่งที่ผิดศีลธรรม
### **ทำไม “ไม่โกหกตนเอง” จึงสำคัญ ?**
– ทำให้เราใช้ชีวิตอย่างมีสติและเข้าใจตนเอง
– ทำให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ไม่ใช้ชีวิตอยู่กับภาพลวงตา
– ทำให้เรามีความสุขจากความจริง ไม่ต้องฝืนใจหรือแบกรับสิ่งที่ไม่ใช่
….. วีระ วศินวรรธนะ เรียบเรียง

“การเจริญสติ และสัมปชัญญะ
ให้ทำความรู้ตัว อยู่…กับจิตผู้รู้อย่างสบายๆ
ไม่เพ่งจ้อง
หรือควานหา ค้นคว้า พิจารณาเข้าไปที่จิตผู้รู้
เพียงแค่รู้ อยู่…เฉยๆ เท่านั้น
ต่อมาเมื่อมีความคิดนึก ปรุงแต่งอื่นๆ เกิดขึ้น
ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลง ของอารมณ์ชัดเจน
เช่น เดิมมีความนิ่ง…ว่างอยู่…
ต่อมาเกิดคิดถึงคน คนหนึ่ง
แล้วเกิดความรู้สึกรัก หรือชังขึ้น ก็ให้สังเกต
รู้ความรัก ความชังนั้น…
และเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรู้ เท่านั้น
ตัวจิตผู้รู้…
มีอยู่…ต่างหาก ให้รู้ตัวไปเรื่อยๆ
สิ่งใดเป็นอารมณ์ ปรากฏขึ้นกับจิต
ก็ให้มีสติ รู้…อารมณ์ที่กำลังปรากฏนั้น
ในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่เผลอ
ส่งจิตเข้าไปในอารมณ์นั้น…
ตรงที่จิตไม่เผลอ
ส่งออกไปนั้นเอง คือ…ความรู้ตัว
หรือสัมปชัญญะ.”
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

สิ่งที่คอยทรมานเรา ไม่ใช่เรื่องราวภายนอก ไม่ใช่คำพูด สายตา หรือท่าทีของคนอื่น
แต่เป็นความคิดของเราเอง
เรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ว่าดีหรือร้าย เกิดเพียงชั่วขณะ ดับลง ผ่านไป ไม่เหลือ
แต่กลับเป็นตัวของเราเอง ที่พยายามฉายซ้ำ ในสิ่งที่ทำให้ตัวเองเจ็บปวด ทรมานตัวเอง
ให้ทุกข์ทรมาน ซ้ำ ๆ
หลายครั้ง รอบตัวเรายังมีคนดี ๆ
มีเรื่องราวดี ๆ มีคำพูดดี ๆ มีกำลังใจดี ๆ
มีความรู้สึกดี ๆ รายล้อมอีกมากมาย
แต่ตัวเราเองนั่นแหละ ที่กลับละเลย
วนเวียนอยู่แต่เรื่องที่ทำให้เราเจ็บปวด
หากไม่ยอมละเว้นตัวเอง หากไม่ยอมเข้าใจ
ว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นแล้ว ดับแล้ว ผ่านไปแล้ว
เป็นอดีตแล้ว ไม่กลับมาอีกแล้ว คงไม่อาจวางได้
คงไม่อาจเป็นอิสระได้ ไม่อาจมีความสุขได้
แล้วใครเล่า ที่ไม่ยอมเข้าใจ
ไม่ยอมปลดปล่อยตัวเองจากทุกข์
ไม่ยอมเดินไปสู่ความสุขที่อยู่ไม่ไกล
ปล่อยมันเถอะ
𝐶𝑟𝑒𝑑𝑖𝑡 : 𝐵𝑜𝑑𝘩𝑖𝑠𝑎𝑡 𝐻𝑒𝑎𝑟𝑡

การปล่อยวางทำให้เราเป็นอิสระ
และความอิสระคือเงื่อนไขเดียว
สำหรับความสุข…
ถ้าในจิตใจเรา เรายังคงยึดติดกับสิ่งต่างๆ
ความโกรธ ความกังวล หรือทรัพย์สมบัติ
เราไม่สามารถเป็นอิสระได้
…พระอาจารย์ ติช นัท ฮันห์