การแยกจิตกับความคิด
วิธีแยกขั้นต้นก็คือให้นั่งสมาธินั่นเอง
เวลาเรานั่งสมาธิเราก็จะหยุดความคิดได้ เมื่อหยุดความคิดก็จะเหลือแต่ความรู้ตัว ตัวรู้ อันนี้ขั้นที่ ๑
เมื่อเรารู้จักแยกความคิดออกจากความรู้ตัวแล้ว
ต่อไปเราก็พยายามควบคุมความคิด อย่าให้คิด คิดเท่าที่จำเป็น
แล้วอย่าให้ไปคิดไปในทางที่จะทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมา
เพราะความทุกข์นี้เกิดจากความคิดของเรา ที่คิดไปในทางความอยากต่างๆ
เราก็ต้องหยุดความคิด ไม่ให้คิดไปในทางความอยาก แล้วใจของเราก็จะไม่ทุกข์
อย่าไปอยากได้ อยากเป็น อย่าไปอยากได้ลาภยศสรรเสริญ อย่าไปอยากได้ความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย
ถ้าเกิดความอยากเหล่านี้ต้องหยุดมันให้ได้
ด้วยการมองให้เห็นว่าสิ่งที่เราอยากได้มันเป็นไตรลักษณ์ มันจะนำมาทำให้เราทุกข์ต่อไป
… พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
กลัวอะไร? กลัวตายครับ
ความตายมันอยู่ที่ไหน..ทำไมจึงกลัว
หาที่ตายดูซิ มันอยู่ไหน
“ความตายอยู่กับตัวเอง… อยู่กับตัวเอง”
แล้วจะหนีไปไหนจึงจะพ้นมันล่ะ.. วิ่งหนีก็ตาย.. นั่งอยู่ก็ตาย
เพราะมันอยู่กับเรา ไปไหนมันก็ไปด้วย เพราะความตายมันอยู่กับเรา
กลัวหรือไม่กลัว.. ก็ตายเหมือนกัน หนีมันไม่ได้หรอก เผชิญมันเลย ไม่ต้องหนี
… หลวงพ่อชา สุภทฺโท
โลกที่เราอยู่นี้ ไม่มีอะไร ทำไม ใคร
ไม่มีอะไรจะเป็นที่วิตกวิจารณ์
ไม่มีอะไรที่น่าจะร้องไห้หรือหัวเราะ
เพราะมันเป็นเรื่องอย่างนั้นธรรมดา ธรรมดาของมัน
เราพูดธรรมดาได้ แต่เรามองไม่เห็นความเป็นธรรมดาของมัน
ถ้าเรารู้ธรรมะอย่างสม่ำเสมอ
ไม่มีอะไรหรือเป็นอะไรแล้ว
มันเกิดมันดับของมันอยู่อย่างนั้นแหละ
มันเป็นธรรมดาของมัน สรรพสิ่งมันก็เป็นเช่นนั้นเอง
เราก็เย็น สงบ
…วีระ วศินวรรธนะเรียบเรียง
มี”สติ”รู้สึกตัวในทุกย่างก้าว นั้นก็คือ”ปาฏิหาริย์”
กายเคลื่อน ใจ(จิต)รู้สึก รู้ตาม… จิตจะเป็นหนึ่งUnique
มีสติ เป็นสมาธิอยู่กับกายที่เคลื่อน ความฟุ้งซ่านของจิตจะหายไป(เข้ามาแทรกไม่ได้)
เมื่อใดที่ความฟุ้งซ่านเข้ามาแทรก ให้สังเกตุ…สติที่”รู้สึกตัว”อยู่กับกายที่เคลือน ทำไมมันถึงหลุดหายไป
…วีระ วศินวรรธนะ
โลกที่เราอยู่นี้ ไม่มีอะไร ทำไม ใคร
ไม่มีอะไรจะเป็นที่วิตกวิจารณ์
ไม่มีอะไรที่น่าจะร้องไห้หรือหัวเราะ
เพราะมันเป็นเรื่องอย่างนั้นธรรมดา ธรรมดาของมัน
เราพูดธรรมดาได้ แต่เรามองไม่เห็นความเป็นธรรมดาของมัน
ถ้าเรารู้ธรรมะอย่างสม่ำเสมอ
ไม่มีอะไรหรือเป็นอะไรแล้ว
มันเกิดมันดับของมันอยู่อย่างนั้นแหละ
มันเป็นธรรมดาของมัน สรรพสิ่งมันก็เป็นเช่นนั้นเอง
เราก็เย็น สงบ
…วีระ วศินวรรธนะเรียบเรียง จากคำสอนของหลวงพ่อชา สุภัทโท
คำถามที่ว่าจิตกับความคิดแยกกันได้หรือไม่ และแยกอย่างไร เป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับธรรมะ จิตวิทยา และปรัชญา ซึ่งสามารถตอบได้ในหลายแง่มุม ดังนี้:
1. ความหมายของ “จิต” และ “ความคิด”
• จิต: เป็นสิ่งที่รับรู้หรือเป็นตัวรู้ เป็นแก่นของความรู้สึกและการรับรู้ในแต่ละขณะ เช่น จิตที่โกรธ จิตที่รัก ฯลฯ จิตในพุทธศาสนาหมายถึง “ธาตุรู้” หรือ “ตัวรู้” ซึ่งไม่ได้มีตัวตนถาวร
• ความคิด: เป็นกระบวนการของจิตที่สร้างภาพหรือเนื้อหาในรูปแบบของคำพูด ความจำ หรือการตีความสิ่งต่างๆ เป็นเพียงหนึ่งในปรากฏการณ์ที่จิตสร้างขึ้น
2. จิตกับความคิดแยกกันได้หรือไม่?
ตอบ: จิตกับความคิดแยกกันได้ เพราะความคิดเป็นผลผลิตของจิต แต่จิตไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ที่ความคิด
ในพุทธศาสนา จิตคือ “ผู้รู้” หรือ “ผู้ดู” แต่ความคิดเป็นสิ่งที่จิตไปรับรู้ เมื่อจิตสงบหรือปล่อยวาง ความคิดก็จะดับลง แต่ตัวจิตยังคงอยู่ในลักษณะของ “ความรู้ตัว”
3. แยกจิตกับความคิดอย่างไร?
การแยกจิตกับความคิดสามารถทำได้ผ่านการฝึกสติและสมาธิ เช่น:
• การมีสติรู้ตัว: ฝึกสังเกตว่าขณะนี้เรากำลังคิดอะไรอยู่ โดยไม่เข้าไปปรุงแต่งหรือจมอยู่ในความคิดนั้น เช่น รู้ว่า “อ๋อ ตอนนี้กำลังคิดเรื่องอนาคต” แต่ไม่ปล่อยให้ความคิดนั้นดึงเราไป
• การเห็นความคิดเป็นสิ่งชั่วคราว: เมื่อสติอยู่ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าความคิดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปเอง เช่นเดียวกับความรู้สึกอื่นๆ
• การฝึกสมาธิ: การทำสมาธิช่วยให้จิตสงบและเห็นความคิดชัดเจนขึ้น เหมือนน้ำนิ่งที่มองเห็นสิ่งที่ลอยอยู่ได้ง่าย
4. ตัวอย่างในการแยกจิตและความคิด
สมมติว่าคุณโกรธ:
• หากไม่มีสติ คุณอาจรู้สึกว่า “ฉันโกรธ” ซึ่งทำให้คุณกลมกลืนกับอารมณ์โกรธ
• แต่ถ้าคุณมีสติ คุณจะสามารถสังเกตว่า “นี่คือความโกรธ” และเห็นว่าความโกรธเป็นเพียงความคิดหรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิต
5. ประโยชน์ของการแยกจิตกับความคิด
• ลดการยึดติด: เมื่อเข้าใจว่าความคิดเป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่ง คุณจะไม่ยึดติดกับความคิดดีหรือไม่ดี
• เพิ่มความสงบ: เมื่อแยกจิตออกจากความคิดได้ จิตจะไม่วุ่นวายไปกับสิ่งที่ผ่านเข้ามา
• เห็นความจริง: ช่วยให้คุณเข้าใจธรรมชาติของจิตและทุกข์ตามหลักอริยสัจ
ดังนั้น การแยกจิตกับความคิดเป็นทักษะที่ฝึกฝนได้ผ่านการเจริญสติและการทำสมาธิ ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจธรรมชาติของจิตใจและการปล่อยวางในที่สุด.
ประโยชน์ของการดูจิต…
เบื้องต้นดูจิตเพื่อให้เห็น”ความคิด”
การเห็นความคิดบางทีเผลอบ้าง หลงลืมบ้างก็ไม่เป็นไร
ฝึกบ่อยๆจนชำนาญก็เอาอยู่ เมื่อฝึกจนชำนาญแล้ว แขกจะไม่ค่อยมาเยือน
…ถึงที่สุดเมื่อแขกมายืนหน้าบ้าน เราก็รู้ แต่ไม่ต้อนรับ แขกก็เข้ามายาก
….หลวงปู่ดูลย์ อตฺโล